วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พายุเกมีจ่อถล่มไทย กทม.เสี่ยงจมบาดาล 2 สัปดาห์


พายุเกมีจ่อถล่มไทย กทม.เสี่ยงจมบาดาล 2 สัปดาห์


พายุเกมีจ่อถล่มไทย กทม.เสี่ยงจมบาดาล 2 สัปดาห์
ผู้เชี่ยวชาญฟันธงอีก 2 สัปดาห์พื้นที่ กทม.จะมีน้ำท่วมขังจากอิทธิพลพายุแกมี และอาจท่วมยาวไปถึงเดือน พ.ย. แนะกทม.แก้ปิดล้อมระบายน้ำออกจริงจัง
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนา "ไขปริศนาสถานการณ์น้ำปี 55 กับแนวโน้มน้ำท่วม กทม." ว่า น้ำฝนยังคงเป็นปัญหาหลักของภาวะน้ำท่วม กทม.และปริมณฑล เพราะจากปริมาณน้ำฝนที่ตกเกินค่าเฉลี่ยปี 2555 ในปัจจุบันคือร้อยละ 120 ขณะที่ปี 2554 ตกเกินค่าเฉลี่ยร้อยละ 40 แต่ความผิดปกติของฝนปีนี้ ช่วงเวลาที่ตกและสถานที่คือไม่ตกในเขื่อนและเหนือเขื่อน โดยตกมากที่สุดในช่วงเดือนกันยายน ขณะที่รัฐบาลเร่งพร่องน้ำในเขื่อนตั้งแต่ต้นปีทำให้พื้นที่ภาคกลางตอนบนไม่ ประสบปัญหาน้ำท่วมเหมือนปีที่แล้ว ส่วนภาคกลางตอนล่างจะยังมีปัญหาน้ำท่วมไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนในลุ่มน้ำ อยุธยา ป่าสัก ท่าจีน ส่วนที่พื้นที่ จ.นครปฐมและ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้รับน้ำฝนมากกว่าที่ผ่านมา และปัญหาที่ตามมาคือปริมาณน้ำจาก อ.กบินทร์บุรีที่ไหลลงมาสะสมที่ จ.ฉะเชิงเทรา
รศ.สุจริต กล่าวต่อว่า สำหรับ กทม.ขณะนี้เริ่มมีน้ำสะสมค้างคลองในพื้นที่ตะวันตก คือ คลองทวีวัฒนา คลองพิทยาลงกรณ์ คลองบางแวก คลองราชมนตรี หากมีปริมาณน้ำฝนสมทบจากพายุแกมี พื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมแน่นอนได้แก่ สองฝั่งคลองทวีวัฒนา ที่ระดับน้ำในคลองขณะนี้เกินปกติแล้วคือ 1.31 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถนนเพชรเกษม 63-64 บางแค ส่วนพื้นที่ทุ่งตะวันออก มีน้ำในทุ่งรังสิตจะสะสมกับพายุทำให้พื้นที่รับน้ำสองฝั่งคลองประเวศบุรี รมย์ แสนแสบ หรือเขตหนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี มีน้ำท่วมขังไปราว 2 สัปดาห์ ขณะที่ความผิดปกติสภาพอากาศอาจทำให้มีพายุเข้ามาในไทยอีกจนถึงปลายเดือน ตุลาคม หากระบายน้ำไม่ทันพื้นที่ตะวันตกและออกที่เป็นจุดลุ่มต่ำก็จะท่วมไปถึงปลาย พฤศจิกายน
รศ.สุจริต กล่าวแนะนำว่า ปัญหาที่ กทม.ต้องเร่งแก้ไขคือ การระบายน้ำปิดล้อมสูบออกอย่างจริงจัง โดยมีความสามารถการสูบน้ำต่อปริมาณคลองในทุ่งตะวันออก 3 ต่อ 1 คือ ตัวสูบมากคลองน้อย ขณะที่ฝั่งตะวันตกตรงกันข้ามคือ 1 ต่อ 2 คือตัวสูบน้อยคลองมาก และในระยะยาว กทม.ต้องปรับสภาพ เพราะปัจจุบันคลองใน กทม.ตื้นเขิน ท่อระบายน้ำเล็ก แต่ปริมาณฝนตกมากขึ้น
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพายุแกมี ฉบับที่ 12 คาดพายุจะทวีกำลังแรงขึ้น และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม 6 ต.ค. จากนั้นจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2555 บริเวณประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน จากนั้นภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะได้ผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากสภาวะอากาศร้ายในช่วงวันเวลาดังกล่าว
ภาพพื้นที่เสี่ยงพายุในกทม. (ขอบคุณภาพจาก Posttoday)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น