วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Spatial Temporary


Spatial Temporary

ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่น การแบ่งเวลาในแต่ล่ะประเทศ

Spatial Interaction


Spatial Interaction

ปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
ปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันหรือกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณที่มีป่าใหญ่ก็จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เยอะ หรือ บริเวณใดที่มีแหล่งขนาดใหญ่ก็จะมีปลาหลายชนิดอาศัยอยู่ 

Spatial Diffusion


Spatial Diffusion

การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่
เป็นการกระจายจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อาจจะเป็นการอพยพย้ายถิ่นฐาน หรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ การแพร่กระจายของเชื้อโรค จากที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไป โดยอาจอาศัยคนเป็นตัวพาหะในการแพร่กระจาย

Spatial Differentiation


Spatial Differentiation

ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่ เช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา ลักษณะพืชพรรณทางธรรมชาติในแต่ละภูมิภาคของโลก สภาพอากาศแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

Spatial distribution


Spatial distribution
เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ จะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ต่างๆ เช่น การกระจายตัวของประชากร การใช้ภาษาในแต่ละพื้นที่ การกระจายตัวของโรคระบาด


ละติจูด ลองติจูด


ลองจิจูดและละติจูด
     การใช้ระยะทางตามมุมในการบอกตำแหน่งบนผิวโลก จะมีเส้นศูนย์สูตรกับไพรม์ เมริเดียนเป็นวงกลมหลัก และเมริเดียนอื่น ๆ กับละติจูดขนานเป็นวงกลมรอง ค่าของระยะทางตามมุมที่ใช้ เพื่อบอกว่าตำแหน่งต่าง ๆ บนโลกอยู่ห่างจากเมริเดียนของกรีนิชไปทางตะวันออกหรือตะวันตกเท่าใด และอยู่ทางเหนือหรืออยู่ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรมากน้อยเพียงใดโดยคิดเป็นมุม ณ จุดศูนย์กลางของโลกที่รองรับด้วยส่วนโค้งบนผิวโลก ณ ที่หนึ่ง ๆ ค่าที่ใช้บอกแต่ละตำแหน่งที่กล่าวถึงนี้ คือ ลองจิจูด (longitude "") และ ละติจูด (latitude "") ของตำแหน่งนั้น

     ลองจิจูดของตำแหน่งใด ก็คือ ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเมริเดียนของกรีนิชไปทางตะวันออกหรือตะวันตก ตามเส้นศูนย์สูตรจนถึงเมริเดียนที่ผ่านตำแหน่งนั้น คิดเป็นองศาลิปดาและฟิลิปดา มีค่าตั้งแต่ 0-180 องศาตะวันออกหรือตะวันตก หรือใช้เครื่องหมาย + แทนตำแหน่งที่อยู่ทางตะวันออกของกรีนิช และเครื่องหมาย - แทนตำแหน่งที่อยู่ทางตะวันตกของกรีนิช

     ละติจูดของตำแหน่งใด ก็คือ ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ หรือทางใต้ตามเมริเดียนซึ่งผ่านตำแหน่งนั้น คิดเป็นองศาลิปดา หรือฟิลิปดา มีค่าตั้งแต่ 0-90 องศาเหนือหรือใต้ หรือใช้เครื่องหมาย + แทนตำแหน่งที่อยู่ทางเหนือและเครื่องหมาย - แทนตำแหน่งที่อยู่ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร

     เส้นลองจิจูดที่ผ่านมาประเทศอังกฤษที่กรีนิช เป็นเส้นสำคัญที่ทุกประเทศต้องใช้เทียบเวลา ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของอังกฤษจะอยู่บนลองจิจูดตะวันออก เช่น กรุงเทพฯ อยู่ที่ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก นั้นคือ เวลาประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลาที่อังกฤษอยู่ 105/15 หรือ 7 ชั่วโมง (15องศา = 1 ชั่วโมง) เช่นถ้าอังกฤษเป็น 0 นาฬิกาหรือเที่ยงคืน ประเทศไทยจะเป็นเวลา 7 นาฬิกา อำเภอหรือจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยที่อยู่ลองจิจูดและไม่อยู่บนลองจิจูดเดียวกัน จะมีเวลาท้องถิ่นหรือเวลาเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นแตกต่างจากเวลามาตรฐานของประเทศ เช่น กรุงเทพฯอยู่ที่ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นช้ากว่าอุบลราชธานี (อุบลราชธานีอยู่ที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก เท่ากับ (105 - 100.5)x4 หรือ 18 นาที (1องศา = 4 นาที)

     ประเทศที่อยู่ทางตะวันตกของอังกฤษจะอยู่บนลองจิจูดตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างลองจิจูด 67 องศาตะวันตกถึงลองจิจูด 125 องศาตะวันตก เวลาจะช้าเท่าประเทศที่อยู่บนลองจิจูดตะวันออก
แสดงลองจิจูด และละติจูด
แสดงลองจิจูด และละติจูด



วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 สุดยอดรูปภาพ เนชันแนลจีโอกราฟฟิก


10 สุดยอดรูปภาพ เนชันแนลจีโอกราฟฟิกของปี 2550


ภาพที่ 1
อันดับ 1 ปลาหมึกยักษ์ถูกจับได้ที่แอตแลนติก

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 เรือประมงนิวซีแลนด์จับปลาหมึกยักษ์ได้ที่ทะเลรอส ในมหาสมุทรแอตแลนติก มันมีน้ำหนักถึง 450 กิโลกรัม ดวงตาใหญ่กว่าจานข้าว ลูกเรือต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงถึงจะจับมันได้ จากนั้นลูกเรือนำซากปลาหมึกไปแช่แข็งและนำส่งให้นักวิทยาศาสตร์ที่อ็อกแลนด์ ยูนิเวอร์ซิตี้ไปศึกษา และถ้านำปลาหมึกตัวนี้ไปทำอาหารจานเด่น "คาลามารี" หรือนำปลาหมึกหั่นเป็นแว่นแล้วทอด จะได้ปลาหมึกชิ้นเท่าล้อรถยนต์เลยทีเดียว



ภาพที่ 2
อันดับ 2 สัตวแพทย์ชาวไต้หวันถูกจระเข้งับมือขาด

เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2550 ที่สวนสัตว์เมืองเกาสง เกาะไต้หวัน นายสัตวแพทย์ชาง โป-หยู ให้ยากล่อมประสาทจระเข้พันธุ์ไนล์ แต่ยากล่อมประสาทดูท่าจะไม่เพียงพอ เพราะออกฤทธิ์น้อยเกินไป ทำให้จระเข้น้ำหนัก 200 กิโลกรัมตัวนี้งับมือซ้ายของสัตวแพทย์ผู้นี้จนขาดเป็นที่สยดสยองของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โชคดีที่มือไม่เละ แพทย์สามารถต่อมือซ้ายใหม่ให้ได้โดยใช้เวลาผ่าตัดนาน 7 ชั่วโมง สำหรับจระเข้พันธุ์ไนล์เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาว 5 เมตร และสามารถฆ่าคนได้ประมาณ 200 รายต่อปี

ภาพที่ 3
อันดับ 3 จับปลาชราอายุ 100 ปีที่อลาสก้า

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 ชาวประมงที่ทะเลแบริ่งในอลาสก้า จับ "ปลาชอร์ตเทรกเคอร์ร็อกฟิช" ตัวเชื่องได้ และนำไปให้นักวิทยาศาสตร์ตรวจ เมื่อดูไปดูมา นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรยากาศและทะเลแห่งสหรัฐหรือ NOAA ฟันธงว่า ปลาร็อกฟิชตัวนี้เป็นเพศเมีย มีอายุราว 90-115 ปี โดยการดูอายุปลานั้นดูจากวงแหวนของกระดูกหูในปลา มันมีลำตัวยาว 112 เซนติเมตร น้ำหนัก 27 กิโลกรัม และมีพุงที่ใหญ่มากๆ จากสถิติพบว่า "ปลาชอร์ตเทรกเคอร์ร็อกฟิช" ที่ตัวใหญ่สุดเท่าที่เคยจับได้มีความยาว 119 เซนติเมตร ส่วนตัวที่ชราที่สุดคือตัวที่มีอายุ 157 ปี

ภาพที่ 4
อันดับ 4 พบซากปลาหมึกยักษ์หรือ "ว็อปเปอร์"

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2550 ที่ชายฝั่งทัสมาเนีย ของออสเตรเลีย ผู้ที่เดินเตร็ดเตร่ไปมาที่ชายหาดทางทิศตะวันตกของเกาะทัสมาเนียแจ้งว่า พบซากปลาหมึกยักษ์หรือ "ว็อปเปอร์" จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ทัสมาเนียทำการตรวจสอบพบว่า หมึกยักษ์มีน้ำหนัก 250 กิโลกรัม ความยาวทั้งหมด 8 เมตร หรือเท่ากับรถโรงเรียนคันใหญ่ๆ

ภาพที่ 5
อันดับ 5 จับปลาฉลามก็อบบลินได้ที่ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2550 ที่อ่าวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พนักงานของอุทยานน้ำโตเกียวซีไลฟ์พาร์กและชาวประมงจับปลาฉลามก็อบบลิน ซึ่งเป็นปลาที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ ฉลามตัวนี้มีความยาว 4.3 ฟุต ว่ายอยู่ในระดับความลึก 500-650 ฟุต จากนั้นอีก 2 วันมันก็ตาย นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ค่อยทราบรายละเอียดของฉลามพันธุ์นี้มากนัก แต่ส่วนใหญ่มันจะอาศัยอยู่ใกล้กับพื้นทะเล

ภาพที่ 6
อันดับ 6 ถ่ายภาพ "นกยิ้ม" ที่โคลัมเบีย

นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมญานามนกพันธุ์บุชเบิร์ดที่มีจะงอยปากโค้งว่า "โมนาลิซ่าแห่งนก" เป็นการถ่ายภาพได้ครั้งแรกในรอบ 40 ปี มันอาศัยอยู่แถวเวเนซุเอลาและทางตะวันออกเฉียงเหนือของโคลัมเบีย เหตุที่นกพันธุ์นี้หายหน้าหายตาไปนานเป็นเพราะสภาพป่าเสื่อมโทรมและมีการเผาป่าเพื่อทำไร่ ทำให้นกต้องย้ายถิ่นไปในที่ห่างไกล

ภาพที่ 7
อันดับ 7 พบฟอสซิลจระเข้โบราณสมัยจูราสสิก

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2550 นักวิทยาศาสตร์จากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ โอเรกอน เปิดเผยว่า พบฟอสซิลของจระเข้พันธุ์ ธาลัตโตซูเชีย (Thalattosuchia) ที่เทือกเขาบลูเมาเท่น ทางตะวันออกของรัฐโอเรกอน มันมีอายุราว 150-180 ล้านปี ตามปกติแล้วฟอสซิลจระเข้พันธุ์นี้พบในเอเชีย ตั้งแต่ญี่ปุ่นไปจนถึงติมอร์ตะวันออก แต่การที่มันปรากฏให้เห็นในอเมริกาเหนือคาดว่า เกิดขึ้นจากการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกชนกับแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ ทำให้ฟอสซิลนี้มาอยู่ที่เทือกเขาบลูเมาเท่น

ภาพที่ 8
อันดับ 8 พบเสือดาวพันธุ์ใหม่

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2550 นักวิทยาศาสตร์จากเนชันแนลมิวเซียมสกอตแลนด์ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ประกาศว่า เสือดาวที่พบในเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา เป็นเสือดาวพันธุ์ใหม่ เนื่องจากพบพันธุกรรมที่แตกต่างไปจากเสือดาวพันธุ์อื่นๆ เสือดาวพันธุ์บอร์เนียนคลาวด์ (the Bornean clouded leopard) มีน้ำหนักประมาณ 23 กิโลกรัม มันชอบกินกิ้งก่า จิ้งเหลน ลิง ไปจนถึงกวางตัวน้อยๆ คาดว่าพวกมันราว 8,000-18,000 ตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของเกาะบอร์เนียว

ภาพที่ 9
อันดับ 9 ฟอสซิลกบต้นไม้ในแท่งอำพัน

ชาวเหมืองในรัฐไชอาพาส ประเทศเม็กซิโก พบฟอสซิลกบในอำพันจึงขายให้กับนักสะสม ต่อมานักสะสมนำส่งให้นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสิ่งแวดล้อมและประวัติศาสตร์ธรรมชาติไชอาพาส ระบุไปเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2550 ว่า ฟอสซิลกบต้นไม้หรือ "ทรี ฟร็อก" นี้ อาจมีอายุถึง 25 ล้านปี ส่วนอายุกบขณะที่ตายนั้นยังไม่ทราบ

ภาพที่ 10
อันดับ 10 นกฮูกประหลาด

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2550 นักฮูกพันธุ์ Xenoglaux ได้รับสมญานามว่า "นกฮูกประหลาด หรือ strange owl" เนื่องจากเป็นพันธุ์หายาก โดยพบที่เขตเทือกเขาในเปรู นักวิทยาศาสตร์พบนกฮูกพันธุ์นี้เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2519 มันเป็นนกตัวเล็ก มีตาสีส้มสุกใส

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผังเมืองน่ารู้


1 รู้จักกฎหมายผังเมือง
กฎมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินตราขึ้น บังคับใช้ในรูปของพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518 สาระสำคัญกล่าวถึงการวางและจัดทำผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

ผังเมืองรวม หมายถึง แผนผัง นโยบายและโครงการรวมทั้งมาตรการควบคุมโดยทั่วไปเพื่อใช้เป็น แนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคม และการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง การบังคับใช้ผังเมืองรวม จะตราเป็นกฎกระทรวง

ผังเมืองเฉพาะ หมายถึง แผนผังและโครงการดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือ กิจการที่เกี่ยวข้อง ในเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทเพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง
การบังคับใช้ผังเมืองเฉพาะ จะตราเป็นพระราชบัญญัติ

กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549

เป็นกฎหมายที่ประกาศให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในเขตกรุงเทพมหานครตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มีอายุการบังคับใช้ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึง 15 พฤษภาคม 2554 และสามารถขยายระยะเวลาการบังคับใช้ต่อไปได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี

การบังคับใช้กฎกระทรวง
เมื่อมีการประกาศให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใดๆซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวม เว้นแต่กรณีที่ได้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน มาก่อนที่จะมีกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม และประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นนั้นต่อไป แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นนั้น ใช้ได้เฉพาะเท่าที่ มีอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น จะใช้ประโยชน์ที่ดินเกินกว่าที่เคยมีมาก่อนไม่ได้
กฎกระทรวง จะไม่มีผลใช้บังคับย้อยหลังกับการ ใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีมาก่อน แต่ถ้าประสงค์จะขอใช้ประโยชน์ที่ดิน เพิ่มขึ้นจากเดิม ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ประกาศใช้บังคับในปัจจุบัน

บทกำหนดโทษ
ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงผังเมืองรวม มีความผิดต้องระวางโทษ 3 สถาน คือ
1. จำคุกไม่เกินหกเดือน
2. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ทั้งจำคุกทั้งปรับ


2 สาระสำคัญของกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย
1. วัตถุประสงค์ในการวางและจัดทำผัง
2. คำนิยาม
3. แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินพร้อมข้อกำหนด
4. แผนผังแสดงที่โล่งพร้อมข้อกำหนด
5. แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและจนส่ง
6. มาตรการ และวิธีการ

วัตถุประสงค์ในการวางและจัดทำผัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากรุงเทพมหานคร ให้เป็นเมืองน่าอยู่มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีบริการพื้นฐานทางสังคม สาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างพอเพียงและได้มาตรฐาน มีระบบคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วิทยากร การบริหาร และการปกครองของประเทศ

คำนิยาม
“การใช้ประโยชน์ที่ดิน” หมายความว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการใดๆ ไม่ว่ากิจการนั้นจะกระทำบนพื้นดิน เหนือพื้นดิน หรือใต้พื้นดิน และไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารหรือนอกอาคาร

“พื้นที่ประกอบการ” หมายความว่า พื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการบนพื้นดิน เหนือพื้นดิน หรือใต้พื้นดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องของกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารหรือนอกอาคาร

“อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน” (FAR) หมายความว่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมทุกชั้น ของอาคารทุกหลัง ต่อพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร

“อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม” (OSR) หมายความว่าอัตราส่วนของที่ว่างอันปราศจาก สิ่งปกคลุมต่อพื้นที่ อาคารรวมทุกชั้นของอาคารทุกหลังที่ก่อสร้างในที่ดินแปลงเดียวกัน

“ป้าย” หมายความว่า ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย

“ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะ” หมายความว่า ตั้งอยู่บนแปลงที่ดินซึ่งมีด้านใดด้านหนึ่งไม่กว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ ซึ่งใช้เป็นทางเข้าออก และแปลงที่ดินนั้นตั้งอยู่ในระยะไม่เกิน 200 เมตร จากจุดกึ่งกลางถนนสาธารณะนั้น

แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อกำหนด
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ได้จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไว้จำนวน 8 ประเภท คือ

1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- ที่ดินประเภท ย.1 – ย.4 (สีเหลือง) กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
- ที่ดินประเภท ย.5 – ย.7 (สีส้ม) กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
- ที่ดินประเภท ย.8 – ย.10 (สีน้ำตาล) กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการตามที่กำหนด

2. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ที่ดินประเภท พ.1 – พ.5
ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกิน ร้อยละสิบของ ที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

3. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม (สีม่วง) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ที่ดินประเภท อ.1 กำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการบริหารและจัดการ สิ่งแวดล้อม สำหรับการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
- ที่ดินประเภท อ.2 กำหนดเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการตามที่กำหนด

4. ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีเม็ดมะปราง) กำหนดเป็นที่ประเภท อ.3
ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อคลังสินค้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบรรจุสินค้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับ การประกอบชิ้นส่วนต่างๆ โดยไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมบริการชุมชน ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการ อื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดิน ประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ที่ดินประเภท ก.1
- ที่ดินประเภท ก.2
ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และการอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

6. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ที่ดินประเภท ก.3
- ที่ดินประเภท ก.4
ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ที่ดินประเภท ศ.1
- ทีดินประเภท ศ.2
ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยว พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้า ของที่ดินประเภทนี้ ในแต่ละบริเวณ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธาณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)
กำหนดให้เป็นที่ดินประเภท ส. ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสถาบันราชการ การศาสนา การศึกษา การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ให้ใช้ได้เฉพาะที่จำเป็น หรือเกี่ยวเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก

แผนผังแสดงที่โล่งและข้อกำหนด
ที่โล่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)
ให้ใช้ประโยชน์เพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
2. ที่โล่งพักน้ำเพื่อการป้องกันน้ำท่วม (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีเขียว)
ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันน้ำท่วมการสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม หรือสวนสาธารณะเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ด้วงก้นกระดก


ระวัง ด้วงก้นกระดก พิษร้ายถึงตาบอด

ด้วงก้นกระดก

ด้วงก้นกระดก


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            ก้าวเข้าสู่ต้นฤดูฝน ทำให้แมลงอย่าง "ด้วงก้นกระดก" หรือ "ด้วงปีกสั้น" ชุกชุมมากขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเตือนให้ประชาชนระวังพิษของ "ด้วงก้นกระดก" เพราะอาจทำอันตรายถึงขั้นตาบอดได้

            โดย "ด้วงก้นกระดก" มีชื่ออื่น ๆ ว่า "ด้วงปีกสั้น" หรือ "ด้วงก้นงอน" (Rove Beetle)มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ลักษณะของ "ด้วงก้นกระดก" จะมีลำตัวเป็นเงามัน ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีสีดำสลับส้ม มักจะงอท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น โดยทั่วไป "ด้วงก้นกระดก" จะอาศัยอยู่ในพงหญ้าที่มีความชื้น และมักจะออกมาเล่นไฟตามบ้านเรือนในตอนกลางคืน "ด้วงก้นกระดก" สามารถพบได้ทั่วโลก แต่จะพบมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งมีมากถึง 3,100 ชนิด ส่วนที่ประเทศไทย คาดว่ามี "ด้วงก้นกระดก" ประมาณ 20 ชนิด

            ประโยชน์ของ "ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ และกลับมีพิษต่อคน โดย "ด้วงก้นกระดก" จะมีพิษ "เพเดอริน" (Paederin) อยู่ทั่วตัว และมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณ 0.025 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว พิษนี้มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่จะพบพิษใน "ด้วงก้นกระดก" ตัวเมีย ซึ่งตามปกติ "ด้วงก้นกระดก" จะไม่กัด หรือต่อยคน แต่พิษสามารถปล่อยออกมาได้ หาก "ด้วงก้นกระดก" ตกใจ ถูกตี ถูกบีบ บดขยี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัว

            อันตรายของพิษ "ด้วงก้นกระดก" คือ หากถูกพิษภายใน 24 ชั่วโมงแรก จะเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน เกิดการอักเสบ แสบร้อน พุพอง และเกิดการอักเสบขยายวงกว้างขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง จากนั้นแผลจะตกสะเก็ดภายใน 8 วัน จนสามารถกลายเป็นแผลเป็นได้ ในบางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดกล้ามเนื้อ อาจียน คนที่แพ้พิษอย่างรุนแรง ผิวหนังอาจอักเสบหลายแห่ง คล้ายเป็นโรคงูสวัด หรืออาจเป็นผื่นแดงติดต่อกันนานหลายเดือน แต่หากพิษเข้าตา ก็อาจทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว

            ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายนปีนี้ (2553) มีรายงานว่า พบผู้ถูกพิษ "ด้วงก้นกระดก" แล้ว 26 ราย ที่จังหวัดราชบุรี และทุกรายมีผิวหนังเป็นผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน บางรายตาแดง และปวดหู ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ.2536 มีรายงานเป็นครั้งแรกว่า พบผู้ได้รับพิษจาก "ด้วงก้นกระดก" โดยเป็นผู้ใช้แรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 27 รายที่เกิดอาการผิวหนังอักเสบเฉียบพลัน

            ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ก็มีรายงานว่า พบผู้ถูกพิษ "ด้วงก้นกระดก" อีก 113 รายที่จังหวัดนครสวรรค์ และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีก 30 คน ส่วนใหญ่มีอาการเดียวกัน คือ พบผื่นแดงเป็นทางยาว ลักษณะคล้ายรอยไหม้ และมีอาการปวดแสบปวดร้อน ขณะที่ในต่างประเทศยังเคยมีรายงานว่า พบผู้ป่วยที่รับพิษจาก "ด้วงก้นกระดก" และมีอาการรุนแรงกว่า 2,000 รายในเมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่ประเทศอินเดียที่พบผู้ป่วย 123 รายเช่นกัน

            สำหรับคำแนะนำในการป้องกัน "ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ไม่ควรจับด้วงมาเล่น หรือตบตีเมื่อด้วงบินมาเกาะตามตัว ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก่อน เพื่อป้องกัน "ด้วงก้นกระดก" รวมทั้งในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพราะ "ด้วงก้นกระดก" มักชอบออกมาเล่นแสงไฟ

            สุดท้าย หากถูกพิษของ "ด้วงก้นกระดก" แล้ว ให้รีบล้างด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย และไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี