วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พิชิตขั้วโลกใต้เมื่่อ 100 ปีที่ผ่านมา


พิชิตขั้วโลกใต้เมื่่อ 100 ปีที่ผ่านมา 

Edited! นายกรัฐมน...อร์เวย์ไปเยือนสถานีวิจัยที่ขั้วโลกใต้ในโอกาสที่การสำรวจดินแดนแห่งนี้ดำเนินมาครบ 100 ปี (ไลฟ์ไซน์) 

 
       ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ปีก่อนสองนักสำรวจชาวนอร์เวย์และอังกฤษได้แข่งขันกันไปให้ถึง “ขั้วโลกใต้” มีคนหนึ่งที่ไปถึงก่อนและอีกคนตามหลังไปอย่างเฉียดฉิว (เมื่อคำนึงถึงการคมนาคมในยุคนั้น) แต่อีกคนไม่สามารถเอาชีวิตรอดกลับมาจากดินแดนหนาวเหน็บได้ ถึงอย่างนั้นทั้งคู่ก็ได้เปิดประตูสู่การสำรวจโลกที่มีสภาพแวดล้อมเป็นลักษณะเฉพาะตัว

      Roald Amundsen


 
อามุนต์เซน และทีมสำรวจ 
  
อามุนต์เซน และทีม ถึงที่หมายก่อน
      เมื่อ 14 ธ.ค. 1911 โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen) นักสำรวจชาวนอร์เวย์ และคณะ ได้ไปถึงขั้วโลกใต้ อันเป็นทวีปที่หนาบเหน็บ แห้งแล้ง และเต็มไปด้วยลมกระโชกแรงมากที่สุดในโลก และหลังจากนั้นในวัน 17 ม.ค.1912 กัปตัน โรเบิร์ต ฟอลคอน สก็อตต์ (Robert Falcon Scott) นักสำรวจชาวอังกฤษและคณะก็ตามไปถึงและพบว่าคณะสำรวจจากนอร์เวย์ได้ชิงตำแหน่งมนุษย์กลุ่มแรกที่ไปเยือนขั้วโลกใต้ก่อนแล้ว

 
Robert Falcon Scott
 
สก๊อต และทีมสำรวจ
       น่าเศร้าเมื่อสก็อตต์ได้เสียชีวิตท่ามกลางกองน้ำแข็งระหว่างที่พยายามกลับจากขั้วโลกใต้ แต่ถึงอย่างนั้นการเดินทางทั้งไปและกลับอันยากลำบากของทีมสก็อตต์จากขั้วโลกก็นำตัวอย่างหินและฟอสซิลหนักกว่า 15 กิโลกรัมกลับมาด้วย และเป็นงานที่วางรากฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ในขั้วโลกใต้ ซึ่งมีการตั้งสถานีวิจัยขั้วโลกใต้อามุนด์เซน-สก็อตต์ (Amundsen-Scott South Pole Station) ที่ดำเนินการโดยโครงการแอนตาร์กติก (Antarctic Program) ของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารจัดการจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (National Science Foundation) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจทั้งคู่
     
       ณ สถานีวิจัยดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจจุดที่ทั้งอามุนด์เซนและสก็อตต์ไปถึงอย่างลำบากจนทั่ว และที่สถานีแห่งนี้ไลฟ์ไซน์ระบุว่าโครงสร้างที่พร้อมสำหรับการทำงานวิทยาศาสตร์ขนาดมหึมา ใกล้ๆ กันยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 10 เมตรที่ปัจจุบันถูกใช้งานเพื่อศึกษาธรรมชาติอันลึกลับของสสารมืด โดยลึกลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งมีเครื่องตรวจวัดอนุภาคทรงลูกบาศก์ที่แต่ละด้านกว้าง 1 กิโลเมตร สำหรับค้นหาอนุภาคลึกลับที่เรียกว่า “นิวทริโน” (neutrino)
     
       สถานีวิจัยอามุนด์เซน-สก็อตต์เป็น 1 ใน 3 สถานีวิจัยที่ดำเนินการตลอดปีของโครงการแอนตาร์กติกสหรัฐฯ ส่วนสถานีอื่นๆ ในคาบสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Peninsula Region) คือ สถานีวิจัยแมคมัวร์โด (McMurdo Station) ณ เกาะรอสส์ (Ross Island) และ สถานีวิจัยปาล์เมอร์ (Palmer Station) ณ เกาะแอนเวอร์ส (Anvers Island) และแม้ว่าทวีปแอนตาร์กติกาจะไม่เป็นมิตรต่อผู้มาเยือน แต่สถานีวิจัยทั้งสามก็ไม่เคยร้างลานักวิทยาศาสตร์ เพราะสภาพแวดล้อมอันเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะพิสดาร ความน่าตื่นตาตื่นใจของภูมิประเทศ รวมถึงสภาพทางทะเลและบรรยากาศที่ไม่อาจพบได้ที่อื่นบนโลกอีก
     
       ตัวอย่างเช่นตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาการปรับตัวในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหลากลหายรูปแบบอาศัยอยู่ได้ ตั้งแต่ในรูปของจุลินทรีย์ไปจนถึงเพนกวินและแมวน้ำที่สามารถมีชีวิตรอดในทวีปแอนตาร์กติกาได้ ซึ่งไลฟ์ไซน์ระบุว่าการศึกษาดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้นักวิจัยยังดูสภาพการดำรงชีวิตและการทำงานของทีมวิจัยในแอนตาร์กติกาเพื่อทำความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าคนเราสามารถรอดชีวิตในระบบนิเวศอันทารุณได้อย่างไร
     
       สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแอนตาร์กติกานั้นอยู่ภายใต้ความกดดันอันจำเพาะการลดลงของทะเลน้ำแข็งบางส่วนในแอนตาร์กติส่งผลกระทบวิกฤตต่อเพนกวิน 2 สปีชีส์ที่มีจำนวนจำกัด และน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นก็อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ใต้ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวทะเลยักษ์ แมงกะพรุนและแมงมุมทะเล
     
       นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอันเกี่ยวเนื่องกับทวีปแอนตาร์กติกา อย่างเช่นสถานะปัจจุบันของชั้นโอโซนโลก ซึ่งปกป้องเราจากรังสีอัลตราไวโอเลต และผลกระทบที่อุบัติขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงการเฝ้าสังเกตการตอบสนองของแอนตาร์กติกาต่อโลกที่กำลังร้อนขึ้น เช่น ความเป็นกรดของน้ำในมหาสมุทรและการแยกของธารน้ำแข็งจากแผ่นน้ำแข็งทวีป เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญต่อความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้นำแข็งส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล


เครื่องหมายทำจากทองแดงที่สถานีวิจัยอามุนด์เซน-สก็อตต์ แสดงสัญลักษณ์ขั้วโลกใต้ (ไลฟ์ไซน์)

สถานีวิจัยอามุนด์เซน-สก็อต์นี้มีผู้คนแวะเวียนไปถึง 250 คนในช่วงฤดูร้อนของทวีป
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ -50 องศาเซลเซียส (ไลฟ์ไซน์

ก็ต้องขอบคุณ โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen) นักสำรวจชาวนอร์เวย์ และ กัปตัน โรเบิร์ต ฟอลคอน สก็อตต์ (Robert Falcon Scott) และคณะ  ที่บุกเบิกนำร่องให้กับนักสำรวจรุ่นต่อๆ มา  หลายท่านที่อ่านก็คงเสียดายทีมของสก็อตต์ที่ไปถึงช้ากว่า  แต่จริงๆ แล้วก็คงไม่ต้องเสียใจมากเพราะไปถึงช้ากว่าถึง 34 วัน  รายละเอียดช่วงระหว่างการแข่งขันไม่ได้มีอยู่ในสกู๊ปนี้  เพราะไม่อย่างนั้นมันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ ขี้เกียจอ่านกัน  ไว้สกู๊ปหน้าต่อจากนี้จะนำเรื่องราวระหว่างการแข่งขันมาฝากว่าทำไมอามุนเซนถึงได้ชนะสก๊อต หวังว่าคงมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ชาวโพสท์จังบ้างนะครับ ท้ายนี้ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่อ่านจนจบครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น