วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์


โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island ) รูปปั้นลี้ลับมาได้ยังไ

โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island )
โมอายแห่ง ราโน ราราคู
     เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยได้ยินเรื่องราวของเกาะอีสเตอร์กัน และเชื่อว่าอีกไม่น้อยเหมือนกันที่กำลังสงสัยอยู่ ว่าเจ้าเกาะชื่อประหลาดๆนี้มันคืออะไร วันนี้แอนจะนำเรื่องของเกาะอีสเตอร์มาฝาก โดยเฉพาะเจ้ารูปสลักหน้าใหญ่ ที่เรียงรายกันบนชายหาดของเกาะนี้ เรารู้จักรูปสลักนี้กันในนามของ " โมอาย "
 

แผนที่บนเกาะอีสเตอร์
     เกาะอีสเตอร์ อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนของตาฮิติและชิลีไปประมาณ 2,000 ไมล์ ดูในแผนที่โลกก็คงจะเห็นว่าอีสเตอร์เป็นเกาะเล็กๆและโดดเดี่ยวอย่างแท้จริง สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับเกาะนี้แบบที่ว่าเอ่ยถึงเกาะอีสเตอร์เป็นต้องนึกถึงเจ้านี่ ก็คือแท่งหินขนาดยักษ์แกะสลักเป็นรูปหน้าคน ที่เรารู้จักกันในนามของโมอาย เมื่อก่อนเกาะนี้ไม่ได้ชื่ออีสเตอร์หรอก มันมีชื่อพื้นเมืองว่า " Te Pito O Te Henua " ซึ่งความหมายคือ " Navel of The World " หรือ สะดือของโลก จนกระทั่งเรือของชาวตะวันตกได้มาขึ้นฝั่งที่นี่เมื่อปี 1722 อันเป็นวันอีสเตอร์พอดี เกาะนี้เลยได้ตามวันด้วย                                                                                                                         โมอาย (Moai) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมอายถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี โมอายเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่ก็มีบางตัวซึ่งมี Pukau ลักษณะคล้ายหมวกเป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมอายอยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์  จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่งๆกลางๆนั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกระทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบโมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม                                                                                                           ลักษณะที่เด่นชัดของโมอาย คือส่วนหัว แต่ก็มีโมอายหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมอายที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่างๆนานา ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือรูปปั้นโมอายถูกแกะสลักโดยพวกโพลิเนเชียน (Polynesian) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่าพวกโพลิเนเชียนอาจสร้างโมอายขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้นหรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว                                                                                                   เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมอาย (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมอายซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน นักวิชาการหลายคนถึงกับลงมือขุดค้นเข้าไปในตำนานของชาวเกาะ เพื่อจะหาที่ไปที่มาของโมอายแต่ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราวมากนัก พอถามชาวเกาะที่มีอายุ และมีความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะ ก็ได้รับคำตอบอย่างเป็นที่น่าพอใจว่า "มันเดินกันลงมาเอง" !? รูปสลักใหญ่โตขนาดนี้ ใครล่ะจะเชื่อว่าชาวเกาะโบราณจะใช้แรงงานของพวกเขาขนย้าย ด้วยการลากลงมาเอง อย่าว่าแต่ลากเลยอ่ะ แค่วิธีแกะสลักเนี่ยก็ลำบากมากแล้ว ขนาดแอนเองยังนึกไม่ออกเลยว่า ชาวโพลิเนเชี่ยนเหล่านี้เค้าเอาอะไรมาสลักหินภูเขาไฟก้อนใหญ่โตขนาดนี้ให้ออกมาเป็นศิลปกรรมหน้าตาประหลาดแบบนี้ได้ ลิ่มหรือ หรือว่าขวานหิน ? 

โมอายผู้พิทักษ์หมู่เกาะ
     ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไปเกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมอายไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมอายจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดีๆมาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ไขปริศนาโมอายที่แท้จริงจาก UBC ช่อง History  สรุปออกมาแล้วว่า โมอายที่พบบนเกาะที่มีอยู่กว่า 900 ตัว เป็นฝีมือการทำของมนุษย์ (ชาวโพลิเนเชียน) เอง จากการที่บนเกาะนั้นมีเหมืองหินขนาดใหญ่อยู่แล้ว การแกะสลักนั้น พวกเขาได้ใช้หินจากภูเขาไฟซึ่งมีความแข็ง คมกว่าหินภายในเหมืองหินที่มีความแข็งแรงน้อยกว่าหินที่ใช้แกะสลักนั่นเอง
ทำไมอารยธรรมของพวกเขาถึงสาปสูญไป ??   พบว่าพวกเขาได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะจนหมดสิ้น จากเดิมเป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ที่ให้ร่มเงายามแดดร้อน ทำให้พวกเขาต้องหลบแดดเข้าไปอยู่ภายในถ้ำ และนักประวัติศาสตร์ยังพบว่า เกิดสงครามแย่งอำนาจในการปกครองเกาะกัน รวมทั้งมีสิทธิขาดในการใช้ทรัพยากร แต่พวกเขาก็มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งนี้โดยให้มีการจัดการแข่งขัน 'มนุษย์นกขึ้น' (Birdman) โดยตัวแทนของแต่ละเผ่าจะต้องวิ่งลงหน้าผาที่สูงชัน 1000 ฟุต เพื่อว่ายน้ำฝ่าดงฉลามไปยังเกาะนกนางนวล และเลือกหยิบไข่นกนางนวลและต้องว่ายกลับมาน้ำไข่ให้ผู้นำของพวกเขา ก็เป็นการชนะการแข่งขันอันสุดหฤโหดเลยทีเดียวนะเนี้ย เมื่อเผ่าพวกเขาชนะ หัวหน้าเผ่าจะเป็นผู้นำใช้สิทธิขาด อำนาจในการปกครองเกาะไปอีก 1 ปี ถึงจะมีการคัดเลือกผู้นำเกาะขึ้นมาใหม่
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก                                                                                      โมอายได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีเหตุผลดังนี้                                                                 1. เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด                                                        2. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว                 3. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น